
Wenming
LAW FIRM
文民律师事务所
สำนักงานกฎหมายเหวิ๋นหมิง ที่นี่คือที่ที่คุณสามารถค้นพบบริการปรึกษากฎหมายที่ครอบคลุมทั้งด้านอาญา แพ่ง มรดก ครอบครัว แรงงาน และภาษี ทั่วราชอาณาจักร โดยทนายความมืออาชีพ เเละทีมงานของเราพร้อมให้บริการใน 3 ภาษา ได้แก่ ไทย จีน และอังกฤษ เพื่อให้คุณมั่นใจในทุกขั้นตอนทางกฎหมายของคุณ.
เกี่ยวกับเรา (About Us)
สำนักงานกฎหมายเหวิ๋นหมิง ลอว์เฟิร์ม
(Wenming Law Firm) 文民律师事务所
เราคือสำนักงานกฎหมายที่มุ่งมั่นในการให้บริการด้านกฎหมายอย่างมืออาชีพ ครอบคลุมทั้งกฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องในทุกมิติ ด้วยทีมทนายความผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีประสบการณ์และความเก่งแต่ละสาขา พร้อมทีมสนับสนุนที่แข็งแกร่งและทำงานอย่างเป็นระบบ
สำนักงานของเราพร้อมรองรับลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยบริการ สามภาษา ได้แก่ ภาษาไทย – ภาษาจีน – ภาษาอังกฤษเพื่อความสะดวกสบายและความเข้าใจในทุกขั้นตอนทางกฎหมาย
เรายึดมั่นในหลัก “ความซื่อสัตย์ ความถูกต้อง และความยุติธรรม”

บริการของเรา
(Legal Services)
ให้คำปรึกษาและดำเนินคดีอาญา เช่น คดีฉ้อโกง ยักยอก ทำร้ายร่างกาย คดียาเสพติด คดีอาวุธ คริปโต คดีฟอกเงินฯลฯ
ครอบคลุมคดีแพ่งทั่วไป เช่น คดีหนี้ คดีผิดสัญญา คดีละเมิด รวมถึง กฎหมายพาณิชย์ เช่น สัญญาธุรกิจ หุ้นส่วนบริษัท ภาษี
รับว่าความและให้คำปรึกษาเรื่องหย่า แบ่งสินสมรส สิทธิในการเลี้ยงดูบุตร การฟ้องขอเป็นผู้ปกครอง การจัดการมรดก ฯลฯ
รับร่าง ตรวจ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับสัญญาทุกประเภท เช่น สัญญาจะซื้อจะขาย สัญญาเช่า สัญญากู้ยืม สัญญาหุ้นส่วน สัญญาจ้างทำของ
ให้บริการแก่ลูกจ้างและนายจ้างในเรื่องการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การค้างค่าจ้าง การเรียกร้องสิทธิประกันสังคม ฟ้องร้องละเมิด
ทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร (Notarial Service Attorney) อย่างเป็นทางการจากสภาทนายควา ม

ขั้นตอนดำเนินงานสำนักงานกฎหมายในคดีอาญา
1. การรับเรื่องและสอบถามข้อเท็จจริง
• นัดพบลูกความเพื่อสอบถามรายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับข้อกล่าวหา
• ตรวจสอบว่าอยู่ในขั้นตอน ชั้นสอบสวน / ชั้นพิจารณา / หรือชั้นอุทธรณ์
• ขอเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น หมายเรียก, หมายจับ, บันทึกคำให้การ, คำฟ้อง, คำพิพากษา
• จัดทำบันทึกการรับเรื่องและสรุปข้อเท็จจริง
2. การตรวจสอบพยานหลักฐาน
• ขอคัดสำเนาสำนวนคดีจากพนักงานสอบสวนหรือจากศาล (หากถึงชั้นพิจารณาแล้ว)
• ตรวจสอบว่าโจทก์มีพยานใดบ้าง เช่น พยานบุคคล วัตถุพยาน หรือพยานแวดล้อม
• วิเคราะห์จุดอ่อนของพยานโจทก์ และพิจารณาหลักฐานฝ่ายจำเลยที่จะนำเข้าสู่คดี
3. การให้คำแนะนำทางกฎหมาย
• ให้คำปรึกษาแก่ลูกความว่า ควรรับสารภาพ / ปฏิเสธ / ขอเจรจา ขึ้นกับหลักฐาน
• อธิบายสิทธิของจำเลย เช่น สิทธิในการไม่ให้การ, สิทธิในการมีทนาย, สิทธิในการอุทธรณ์ ฯลฯ
4. การร่างคำให้การ/คำแก้ต่าง
• จัดทำ คำให้การจำเลยต่อศาล หรือคำร้องต่าง ๆ เช่น คำร้องขอปล่อยชั่วคราว
• หากเป็นชั้นสอบสวน อาจช่วยจัดทำ คำให้การในชั้นพนักงานสอบสวน
• หากเข้าสู่ชั้นศาลแล้ว อาจต้อง ร่างคำแถลงเปิดคดี – ปิดคดี – หรือยื่นคำร้องต่าง ๆ
5. การดำเนินคดีในศาล
• นัดพบและเตรียมตัวพยานฝ่ายจำเลย
• ร่าง ประเด็นต่อสู้คดี เช่น ไม่ได้กระทำ, ขาดเจตนา, พยานโจทก์ไม่น่าเชื่อถือ, ไม่มีหลักฐาน
• เข้าร่วมการพิจารณาคดี / ไต่สวนมูลฟ้อง / ไต่สวนพยาน / แถลงปิดคดีด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ
6. การดำเนินการในชั้นอุทธรณ์ (หากแพ้คดี)
• ขอคัดคำพิพากษาเพื่อวิเคราะห์เหตุผลของศาลชั้นต้น
• ร่าง อุทธรณ์จำเลย โดยอ้างข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ศาลวินิจฉัยผิด
• ยื่นต่อศาลชั้นต้นภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด (ปกติ 30 วันนับแต่วันฟังคำพิพากษา)
7. การรายงานผลและติดตามผล
• แจ้งผลพิจารณาให้ลูกความทราบทุกขั้นตอน
• จัดทำบันทึกผลดำเนินงาน และสำเนาคำพิพากษาเก็บไว้ในแฟ้มคดี
ทนายความ
(Lawyer)

ทนาย ภาวิดา พรสุรจิตต์
Miss. Pawida Pornsurajit
Senior Lawyer

Senior Lawyer
ทนาย กันตพงศ์ สุขวัฒนาพร
Mr.Kantapong Sukwattanaporn

ทนาย ภัทรชล เจ๊ะสือแม
Miss. Phattarachon Jaew sue mae
Lawyer

อภิวัฒน์ สุขวัฒนาพร
Mr.apiwat Sukwattanaporn

ทนาย สิรภพ มังคะลี
Mr.Sirapho mankalee
Lawyer